เป้าหมาย (Understanding Goal): เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

Week2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
2
18-22 ม.ค.
2559
โจทย์
-วางแผนออกแบบการเรียนรู้
Key Questions
- นักเรียนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร
- นักเรียนคิดว่าชื่อหน่วย ที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด
Round Table
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพสะเทือนใจ
Round Robin
พูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับเหตุการณ์
Card & Chart
เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Think  Pair Share
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Blackboard  Share
การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
Brainstorms
ระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
Mind  Mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียน
- ภาพสะเทือนใจ (ภาพเด็กหญิงชาวเวียดนามในสงคราม)
- กระดาษชาร์ตแผ่นใหญ่
จันทร์
ชง:
- ครูให้นักเรียนดูภาพสะเทือนใจจำนวน 10 ภาพ (ตัวอย่าง: ภาพเด็กหญิงชาวเวียดนามในสงคราม)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนรู้สึกอย่างไร?”
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับภาพที่ได้ดูในรูปแบบ Round Table
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนเคยได้ยินเรื่องราวที่มีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ในภาพอีกหรือไม่ เหตุการณ์ใดบ้าง?”
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ในรูปแบบ Round Robin
ศุกร์
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?”
เชื่อม:
- ครูแจกกระดาษแผ่นเล็กๆให้นักเรียนแต่ละคน ให้เขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้ ในรูปแบบ Card & Chart
- ครูและนักเรียนจัดหมวดหมู่เรื่องที่ต้องการศึกษาร่วมกัน
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่าชื่อหน่วยที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?”
เชื่อม: นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกันตั้งชื่อหัวข้อหน่วย ในรูปแบบ Blackboard Share
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนมีสิ่งที่ใดบ้างที่อยากรู้และสิ่งใดบ้างที่รู้แล้ว?”
เชื่อม: นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้และสิ่งที่อยากเรียนรู้และรวมรวบความคิดร่วมกัน ในรูปแบบ Think Pair Share
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์ได้อย่างไร?”
Flipped Classroom:
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันนำสิ่งที่อยากเรียนรู้มาออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ในกระดาษชาร์ตแผ่นใหญ่
- นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนรู้ในรูปแบบ Mind Mapping
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพสะเทือนใจ
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้และออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
- การบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงสมุด
ชิ้นงาน
- หัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อหน่วย
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้
ความรู้ 
เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลาก
หลายและแตกต่างจากตนเอง
ทักษะการเรียนรู้
- มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษา
ทักษะการวางแผน
วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานค้นหาข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้
- สามารถสร้างชิ้นงานต่างๆผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วมเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นรับทราบได้
คุณลักษณะ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
สร้างสรรค์และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน









1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ ครูป้อมและครูผักกาดให้นักเรียนนำเสนอหนังสือที่ได้รับเป็นการบ้านช่วงปิดเทอมจนครบทุกคน
    วันที่สอง ครูเริ่มต้นด้วยการทำกิจกรรมภาพแทนความรู้สึก โดยครูให้ดูภาพเกี่ยวกับสงคราม (โดยอ้อม) 12 ภาพ พร้อมเปิดเพลงคลอเบาๆ เพื่อสร้างบรรยากาศ ครูตั้งคำถามให้นักเรียนเขียน 2 ข้อ 1.เห็นอะไร และ 2.รู้สึกอย่างไรบ้าง และนำมาแลกเปลี่ยนร่วมกัน ภาพส่วนใหญ่ ทำให้นักเรียนรู้สึกสงสาร และอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดที่ไหน แต่ก็มีบางภาพที่นักเรียนรู้เลยว่า คือเหตุการณ์ใด
    เมื่อจบกิจกรรม ครูป้อมพาเข้าสู่กิจกรรมการเลือกชื่อหน่วย ครูโดยใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?” ก่อนให้ทุกคนเขียนลงในกระดาษแผ่เล็กก่อนที่นำไปติดบนกระดาน และช่วยกันขมวดจนได้หัวข้อ เกี่ยวกับสงครามและความรุนแรง ครูป้อมยังใช้คำถามที่น่าสนใจหลายคำถามเพื่อถามถึงความสำคัญหรือเหตุผลที่สนใจอยากเรียนรู้หน่วยนี้ เช่น “ข้อดีของสงครามมีอะไรบ้าง?”, “ถ้าไม่มีสงคราม โลกจะเป็นอย่างไรในปัจจุบัน?” และครูใช้คำถาม “นักเรียนคิดว่าชื่อหน่วยที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?” ก่อนที่ทุกคนจะได้ร่วมแสดงความคิดเห็น จนสุดท้ายได้ชื่อหน่วยคือ World War For? จากนั้นทุกคนเขียน ‘สิ่งทีรู้แล้ว’ / ‘สิ่งที่อยากเรียนรู้’ ลงในกระดาษ Think พอทุกคนเขียนเสร็จครูให้จับกลุ่ม 3-4 คน เพื่อขมวดช่วยกันเขียนอีกครั้ง Pair และสุดท้ายทุกคนนำงานที่ได้ทุกคนชิ้นมาร่วมเขียนลงกระดาษชาร์ตแผ่นใหญ่ Share ก่อนครูจะนำชิ้นงานดังกล่าวมาติดเพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนตลอดการเรียนรู้ในQuarterนี้ เป็นชิ้นงาน Wall Thinking หลังจากนั้นครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อร่วมกันออกแบบวางแผน ร่วมกันสร้างปฏิทินการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์ สุดท้ายแล้วครูร่วมกับนักเรียนช่วยกันจัดระบบข้อมูล เพื่อให้เนื้อหาของผู้เรียนไม่หลุดจากที่ครูวางแผนไว้ก่อนหน้านี้ และหลังจากนั้นนักเรียนทำ Mind Mapping (ก่อนเรียน)

    ตอบลบ