เป้าหมาย (Understanding Goal): เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

Week7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย และเข้าใจเรื่องการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
Week
Input
Process
Output
Outcome
7
22-26 ก.พ. 2559
โจทย์
- เหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย
- การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
Key  Questions
- ประเทศไทยเคยมีเหตุการณ์ความรุนแรงหรือไม่?
เครื่องมือคิด
Round Table
พูดคุยแลกเปลี่ยนจากกิจกรรมที่ทำ
Place Mat
วิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกิจกรรมที่ทำ
Round Robin
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันจากกิจกรรมที่ทำ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- คลิปเหตุการณ์ความรุนแรงในไทย (14 ต.ค. 2516, 6 ต.ค. 2519, พฤษภาทมิฬ)
คลิปรายการพื้นที่ชีวิต ตอนรอยเลือดที่รวันดา
- เชือกฟาง
- กระดาษ
- อินเตอร์เน็ต
จันทร์
ชง:
- ครูเปิดคลิปเหตุการณ์ความรุนแรงในไทย (14 ต.ค. 2516, 6 ต.ค. 2519, พฤษภาทมิฬ)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เหตุการณ์ความขัดแย้งในไทยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในปัจจุบันอย่างไร?”
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันในรูปแบบ Place Mat
ใช้: นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงออกถึงความรู้สึกร่วมในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ (เขียนคำอุทิศ, แต่งบทกวี บทประพันธ์ เพลง, เขียนจดหมาย, ใช้โวหารภาพพจน์)ในรูปแบบการแต่งเพลง
ศุกร์
ชง: ครูให้นักเรียนดูคลิปรายการพื้นที่ชีวิต ตอนรอยเลือดทีรวันดา
เชื่อม: ครูและนักเรียนทบทวนเหตุการณ์ที่รวันดาร่วมกัน
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ใครบ้างมีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์ในรวันดา?
เชื่อม:
- นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับผู้ที่มีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์ในรวันดา ในรูปแบบ Blackboard Share ในมิติขององค์กรทางสังคม ซึ่งประกอบด้วย สถาบันครอบครัว, การเมืองการปกครอง, เศรษฐกิจ, การศึกษา, ศาสนา, สื่อสารมวลชน ฯลฯ
- ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามองค์กรทางสังคม กลุ่มละ 2-3 คน
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ในเหตุการณ์ที่รวันดา องค์กรทางสังคมของนักเรียนมีส่วนทำให้เกิดความรุนแรงอย่างไร?”
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันในรูปแบบ Place Mat
- ครูขออาสามาสมัคร 2 คนมาอยู่กลางวงกลม เป็นสัญลักษณ์ของผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง นักเรียนแต่ละกลุ่มยืนเป็นวงกลมล้อมรอบ ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบเมื่อพูดจบให้ส่งด้ายไหมพรมโยงไปหาอีกกลุ่ม เป็นการสร้างปม
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดกับอาสาสมัครที่อยู่กลางวง “นักเรียนรู้สึกอย่างไร?
เชื่อม: นักเรียนที่เป็นอาสาสมัครนำเสนอคำตอบกับเพื่อนๆ ที่อยู่นอกวงกลม
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ในเหตุการณ์ที่รวันดา ถ้านักเรียนเป็นผู้มีอำนาจในองค์กรทางสังคม จะวิธีอย่างไรในการแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น?”
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบการเชื่อมโยงกับกลุ่มอื่น เมื่อพูดจบให้ส่งด้ายไหมพรมโยงคืนกลับมาหากลุ่มที่ส่งให้ในรอบแรก เป็นการแก้ปม
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน ในรูปแบบ Round Robin
เชื่อม: นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเล่าจากครู และคลิปที่ดู
- เขียนผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
- ทำกิจกรรมการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
- บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงสมุด
ชิ้นงาน
- เครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้
ความรู้
- เข้าใจเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย
- เข้าใจเรื่องการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลาก
หลายและแตกต่างจากตนเอง
ทักษะการเรียนรู้
- มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษา
ทักษะการวางแผน
วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานค้นหาข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้
- สามารถสร้างชิ้นงานต่างๆผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วมเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นรับทราบได้
คุณลักษณะ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
สร้างสรรค์และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน

ภาพกิจกรรม

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ ครูเริ่มจากการชวนคุยเกี่ยวกับบทความที่พูดเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่บอกว่า การฆ่ากันแบบนี้เกิดขึ้นเพราะเรามองคนไม่ใช่คน ไม่เท่ากับเรา ครูลองถามกลุ่มที่ศึกษาเกี่ยวกับประเทศรวันดาก็ได้คำตอบตรงกัน สมัยที่มีการฆ่ากันที่รวันดา ชาวฮูตูมองชาวทุตซีเป็นแมลงสาบ จากนั้นครูถามนักเรียนว่ารู้จักสวนสัตว์ไหม แต่เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว มีสวนสัตว์ชนิดหนึ่งที่นิยมกันมากคือสวนสัตว์มนุษย์ที่มีการจับชนเผ่าต่างๆ หรือคนที่มีลักษณะผิดปกติมาเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม จากนั้น ครูให้นักเรียนลองนึกถึงคนที่เราไม่ชอบหรือเกลียดมากๆ และวาดออกมา หลังจากนั้นก็นำมาแลกเปลี่ยนกัน
    วันที่สอง ครูพาทำกิจกรรมหมอน เพื่อสื่อถึงความขัดแย้งไม่เท่ากับความรุนแรงเสมอไป ครูแบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะภารกิจไม่เหมือนกันในการนำหมอนไปที่ต่างๆ เมื่อเริ่มเล่นทุกกลุ่มก็วางแผนและทำตามแผนบ้าง ไม่ตามแผนบ้าง ทั้งสนุกและเจ็บ ครูให้กิจกรรมดำเนินไปสักพักก็บอกให้หยุดและเรียกหัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่มมาคุยช่วยกันคิดหาวิธีทำให้ทุกกลุ่มสำเร็จ คุยไปสักพักก็หาทางออกกันได้ บางครั้งเราต้องการสิ่งที่มีจำกัดสิ่งเดียวกันจนอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีรุนแรงในการได้มาตามความตัองการนั้น

    ตอบลบ