เป้าหมาย (Understanding Goal): เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

Week9

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์/สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
Week
Input
Process
Output
Outcome
9
7-11 มี.ค. 2559
โจทย์
- มองอนาคต
- เชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับตนเอง
- ถ่ายทอดความเข้าใจเรื่องที่ศึกษาและเรียนรู้มาตลอด 1 Quarter
Key  Questions
- จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองและโลก ถ้าโลกนี้มีประชากรถึง 9,000 ล้านคน
- นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน Quarter นี้ มาเชื่อมโยงกับตนเองและถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Brainstorm
ระดมความคิดเพื่อออกแบบรูปแบบในการนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
Round Robin
พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันจากกิจกรรมที่ทำ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- ข้อมูลจาก Website
- เรื่องเล่าเกี่ยวกับปี ค.ศ. 2040
จันทร์
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “จากที่ได้เรียนมาตลอดทั้ง Quarter นักเรียนมีความรู้สึก เชื่อมโยงกับตนเองอย่างไร?
ใช้: นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดง
ออกถึงความรู้สึกร่วมในรูปแบบการเขียนบทความ
ชงครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน Quarter นี้ มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เชื่อม: นักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน ออกแบบรูปแบบในการนำเสนอ ในรูปแบบ Brainstorm
ชง: ครูให้โจทย์นักเรียนทั้งห้องร่วมกันออกแบบการนำเสนอเรื่องที่ศึกษาและเรียนรู้ตลอด 1 Quarter
ศุกร์
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่า ประเทศไทย และโลกมีประชากรเท่าไร?
เชื่อม: นักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน ในรูปแบบ Round Robin
ชง:
- ครูให้นักเรียนดูข้อมูลโลกในปัจจุบันแบบ Real time จากเว็บไซต์ http://www.worldometers.info/ ได้แก่ ข้อมูลจำนวนประชากร จำนวนคนเกิด คนตาย ปริมาณการใช้น้ำ น้ำมัน การตัดใช้ทำลายป่า เป็นต้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับข้อมูล?
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้รับ ในรูปแบบ Round Robin
ชง: ครูเล่าเรื่องในปี ค.ศ. 2040 โลกจะมีประชากรถึง 9,000 ล้านคน
เชื่อม: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อวันนั้นมาถึง และจะส่งผลกระทบกับเราอย่างไรบ้าง”
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เกี่ยวกับปี ค.ศ. 2040 ในรูปแบบ Round Robin
ใช้: นักเรียนสรุปความคิดเห็นของตัวเอง ในรูปแบบ Infographic
Flipped Classroom:
เชื่อม:
- นักเรียนร่วมสรุปข้อมูลอีกครั้งเพื่อทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้
- นักเรียนร่วมออกแบบรูปแบบการนำเสนอส่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนนำเสนอความคืบหน้าและศึกษาเพิ่มเติม
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้ดู เรื่องเล่าที่ได้ฟัง
- เตรียมความพร้อมถ่ายทอดความเข้าใจ
- บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงสมุดชิ้นงาน
- Inforgraphic เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2040
- บทความเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับตนเอง
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้


ความรู้
เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์/สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลาก
หลายและแตกต่างจากตนเอง
ทักษะการเรียนรู้
- มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษา
ทักษะการวางแผน
- วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานค้นหาข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้
- สามารถสร้างชิ้นงานต่างๆผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วมเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นรับทราบได้
คุณลักษณะ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
สร้างสรรค์และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน
ภาพกิจกรรม

1 ความคิดเห็น:

  1. หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วครูได้ให้ดูรูปภาพที่น่ากลัวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย สัปดาห์นี้ครูมีโอกาสให้นักเรียนได้ดูภาพเหตุการณ์จริงของเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 ซึ่งนักเรียนให้ความสนใจอย่างดี อย่างหนึ่งที่ครูย้ำกับนักเรียนคือ เรื่องราวที่เล่าผ่านคลิปที่นักเรียนดู เป็นมุมมองมุมมองหนึ่งของประวัติศาสตร์เดือนตุลาเท่านั้น ถ้าสนใจต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อที่จะเข้าใจในหลายมิติ เมื่อดูจบ ครูให้นักเรียนสร้างชิ้นงานโดยการวาดภาพแทนความรู้สึกและเขียนความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากดูคลิปจบ

    ตอบลบ