เป้าหมาย (Understanding Goal): เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

Week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจนักเรียนเข้าใจประวัติศาสตร์ สาเหตุ และบุคคลสำคัญที่อยู่ในแต่ละเหตุการณ์การสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และเข้าใจเรื่องการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
25-29 ม.ค. 2559
โจทย์
- ประวัติศาสตร์
- การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
Key Questions
- อะไรคือสาเหตุของแต่ละเหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ใครคือบุคคลผู้มีอิทธิพลในแต่ละเหตุการณ์การสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- การศึกษาเพื่อสันติภาพมีความสำคัญอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอและร่วมอภิปรายเกี่ยวกับสาเหตุ และบุคคลสำคัญที่อยู่ในแต่ละเหตุการณ์การสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
Round Robin
- พูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับหนังที่ได้ดู และกิจกรรมที่ทำ
- นำเสนอเรื่องที่ศึกษา
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียน
- หนังที่แต่ละกลุ่มได้รับไปดู
- กระดาษบรู๊ฟ
- อินเตอร์เน็ต
จันทร์
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้คนและสังคมหนึ่งๆอยู่รอด ไม่มีอยู่ไม่ได้?”
เชื่อม: นักเรียนแต่ละคนเขียนคำตอบลงในกระดาษ
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด จากปัจจัยที่นักเรียนเขียนปัจจัยใดเป็นความจำเป็น หรือความต้องการ และอะไรคือความแตกต่างของสองสิ่งนี้
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์และเขียนคำตอบลงในกระดาษของตัวเอง
- นักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และหาฉันทามติร่วมกัน ในรูปแบบคู่ กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ทั้งหมด
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเรื่องความแตกต่างระหว่างความขัดแย้งและความรุนแรงในรูปแบบ Round Robin
ชง:
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน และจับฉลากเลือกค้นคว้าเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในแต่ละประเทศและในแต่ละทวีปที่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ดังนี้
-         อเมริกา (ชนเผ่าอินเดียนแดง)
-         กัมพูชา (เขมรแดง)
-         ระวันดา (ชนเผ่าฮูตู-ทุตซี)
-         จีน (เมืองนานกิง)
-         เยอรมัน (ฮิตเลอร์-ยิว)
-         ออสเตรเลีย (ชนเผ่าอะบอริจิน)
- ครูให้โจทย์นักเรียนแต่ละกลุ่มไปศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสงครามหรือเหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ทำไมจึงมีเหตุการณ์ความรุนแรง การสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์?
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่า มีประเทศใดบ้างที่ไม่เคยมีเหตุการณ์ความรุนแรง การสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้น?
Flipped Classroom:
เชื่อม:
- ครูแจกหนัง (แต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน)  ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนศึกษาทุกกลุ่มไปดูร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้น ศึกษาข้อมูล และบันทึกลงในสมุดเล่มเล็ก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนนำเสนอความคืบหน้าและศึกษาเพิ่มเติม
ศุกร์
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอเกี่ยวกับประเทศที่ไม่เคยมีเหตุการณ์ความรุนแรง การสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้น
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน ในรูปแบบ Round Robin
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสงครามหรือเหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในแต่ละประเทศ
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการนำเสนอของเพื่อนแต่ละกลุ่ม ในรูปแบบ Round Robin
- นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังเรื่องที่ศึกษาในรูปแบบ Mind Mapping
ใช้: นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงออกถึงความรู้สึกร่วมในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ (เขียนคำอุทิศ, แต่งบทกวี บทประพันธ์ เพลง, เขียนจดหมาย, ใช้โวหารภาพพจน์)
เชื่อม: นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


          ในสัปดาห์ที่ หลังจากที่นักเรียนได้ร่วมกัน..









ภาพชิ้นงาน                          




1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ ครูตั้งใจพานักเรียนเข้าสู่เนื้อหา โดยครูเริ่มจากกาตอบคำถาม ตอบข้อสงสัย สิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้จากชิ้นงานสิ่งรู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้ของนักเรียนเมื่อสัปดาห์ก่อน 2 คำถาม 1. ทำไมเราต้องเรียนรู้เรื่องสงคราม 2. สงครามเกิดขึ้นที่ใดบ้าง

    กิจกรรมแรก ครูให้นักเรียนอ่านบทปาฐกถาสั้นๆ ของ J.K Rowling ที่กล่าวในวันรับปริญญาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประโยชน์ของจินตนาการ ครูให้เวลาประมาณ 10 นาที แล้วนำมาแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากบทความ?” พี่ๆ หลายคนตอบได้อย่างน่าสนใจ คนหนึ่งตอบว่า เราไม่จำเป็นต้องไปอยู่ในสงครามจริงๆ แต่เราก็คิด รู้สึกได้ถึงความรุนแรงของสงคราม ความหวาดกลัว เศร้าโศกของแต่ละเหตุการณ์สงครามที่เกิดขึ้น ครูสรุปโดยตั้งคำถามกับนักเรียนว่า “ความคิดเหล่านี้เป็นเหตุผลให้เราควรจะเรียนเรื่องสงคราม เรื่องความรุนแรงได้ไหม?”

    ต่อจากนั้น เพื่อตอบคำถามที่ 2 ครูหยิบแผนที่โลกผืนใหญ่มาวางบนพื้น ครูโยนเบี้ย (ถ้าเบี้ยตกลงประเทศใด) เพื่อสุ่มให้นักเรียนแต่ละคนไปหาข้อมูลว่า ประเทศที่แต่ละคนได้รับมีเหตุการณ์ความรุนแรง สงคราม การสังหารหมู่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไหม โดยระหว่างอาทิตย์ ครูป้อม ครูผักกาดก็ได้มีการทบทวน เตรียมความพร้อม วันศุกร์ ครูให้แต่ละคนนำเสนอ ทุกคนเล่าถึงเหตุการณ์ บางคนรวมถึงจำนวนอาวุธ และกำลังทหาร โดยครูคอยเพิ่มเติม เมื่อทุกคนนำเสนอเสร็จ สิ่งที่นักเรียนค้นหามาได้ตอบคำถามด้วยตัวมันเอง ทุกๆ ที่เคยหรือยังคงมีเหตุการณ์ความรุนแรง สงครามมาก่อน

    ครูทิ้งท้ายด้วยการชวนนักเรียนคุยว่า คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงความรุนแรง สงคราม เวลานึกถึงความสูญเสีย คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเฉพาะผู้เสียชีวิต แต่ยังคงมีคนอีกจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากสงครามเช่นกัน นั่นคือ ผู้พิการ ครูเริ่มโดยเปิด animation เรื่อง present ที่พูดถึงเด็กที่ไม่มีขา ให้ดูคลิปปัจจุบัน คุณคิม ฟุก ผู้หญิงเวียดนามที่เป็นภาพสะท้อนความรุนแรงของสงครามเวียดนาม และให้ดูภาพและอธิบายเกี่ยวกับเด็กพิการที่ได้รับผลกระทบจาก “ฝนเหลือง” สารเคมีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาทิ้งในสงครามเวียดนาม

    ตอบลบ