เป้าหมาย (Understanding Goal): เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

Week5

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในปัจจุบัน และเข้าใจเรื่องการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
Week
Input
Process
Output
Outcome
5
8-12 ก.พ. 2559
โจทย์
- เหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในปัจจุบัน
- การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าเหตุการณ์ในอดีตส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในปัจจุบันอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอและร่วมอภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในปัจจุบัน
Round Robin
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- กระดาษ
- เทปกาว
- อินเตอร์เน็ต
จันทร์
ชง:
- ครูให้นักเรียนวาดดอกไม้ลงบนกระดาษ

- แต่ละกลีบให้นักเรียนเขียนคำสั้นๆ ที่อธิบายตัวตนของนักเรียน
- ครูรวบรวบกระดาษและเขียนคำอธิบายตัวตนบนกระดาน
- ครูใช้เชือกแบ่งครึ่งห้องแบ่งนักเรียนเป็น 2 ฝั่ง ครูอ่านคำอธิบายตัวตนบนกระดานทีละคำ นักเรียนที่มีตัวตนตรงกับที่ครูอ่านเดินไปที่ฝั่งที่กำหนด (ตัวอย่าง เช่น เพศชาย-หญิง, เป็นคนอำเภอลำปลายมาศ-นางรอง)
เชื่อม:
- นักเรียนร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเรื่องการเคารพความแตกต่างของ
อัตลักษณ์ของแต่ละบุคคล
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “มีนักเรียนคนใดไม่ได้มีอัตลักษณ์เหมือนเพื่อนเลยบ้าง
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมอัตลักษณ์ ในรูปแบบ Round Robin
ชง: ครูให้โจทย์นักเรียนแต่ละกลุ่มไปศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองในปัจจุบัน
Flipped Classroom:
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้น ศึกษาข้อมูล และบันทึกลงในสมุดเล่มเล็ก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนนำเสนอความคืบหน้าและศึกษาเพิ่มเติม
ศุกร์
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องที่ศึกษาคือ ผลกระทบของเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองในปัจจุบัน ในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ (การ์ตูนช่อง, บทความ, Mind Mapping, Flow Chart, ชาร์ตความรู้ ฯลฯ)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมอภิปรายผลกระทบของเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง
การปกครองของแต่ละประเทศในปัจจุบัน
ใช้: นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงออกถึงความรู้สึกร่วม ในรูปแบบการเขียนจดหมายถึงผู้มีอำนาจสั่งการในเหตุการณ์
เชื่อม: นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ทำกิจกรรมการแปรเปลี่ยน
ความขัดแย้ง
- สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และนำเสนอเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยน
แปลงด้านการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศในปัจจุบัน
- สร้างชิ้นงานผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
- บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงสมุด
ชิ้นงาน
- เครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้

ความรู้
- เข้าใจเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในปัจจุบัน
- เข้าใจเรื่องการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลาก
หลายและแตกต่างจากตนเอง
ทักษะการเรียนรู้
- มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษา
ทักษะการวางแผน
วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานค้นหาข้อมูล

ทักษะการสื่อสาร
- สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้
- สามารถสร้างชิ้นงานต่างๆผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วมเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นรับทราบได้
คุณลักษณะ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
สร้างสรรค์และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน

ภาพกิจกรรม 


 




ภาพชิ้นงาน       



1 ความคิดเห็น:

  1. จากสัปดาห์ก่อนที่ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อให้ไปค้นคว้าข้อมูล สัปดาห์นี้จึงครูวางแผนให้แต่ละนักเรียนได้มีเวลาศึกษาข้อมูล ประมวลและนำมาสรุปเป็นความเข้าใจกับตัวเอง และจากคำปรึกษาของครูใหญ่ที่มองว่า ถ้านักเรียนได้เห็นชั้นความความคิดเข้าใจของตนเองที่มีต่อเหตุการณ์ต่างๆ จะทำให้นักเรียนแต่ละคนมีท่าที มุมมองต่อเรื่องสงคราม เหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ได้กว้างขึ้น จึงได้เชิญครูใหญ่มาคุยกับเด็กๆ

    กิจกรรมนี้เริ่มขึ้นตอนบ่ายหลังกินข้าว ครูใหญ่เข้ามาเล่าเรื่องของช่างคนหนึ่งที่เคยมาทำกระจก ทำฝ้าเพดานให้โรงเรียน แต่ก่อนนี้ ช่างคนนี้ทำงานรับเหมาที่กรุงเทพฯ สร้างเนื้อสร้างตัว สร้างครอบครัว แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝัน ลูกจ้างของเขาไปก่อคดีทำร้ายร่างกายและหนี ทำให้เขาต้องรับเป็นจำเลย มีเรื่องขึ้นศาล และสุดท้ายถูกตัดสินจำคุก เมื่อเล่าจบ ครูใหญ่ตั้งคำถามที่ไม่มีข้อสรุปกับนักเรียนกระตุ้นความคิด ใครทำถูก ทำผิด ผลของการกระทำยุติธรรม ไม่ยุติธรรมอย่างไร

    จากนั้น ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 3 กลุ่มแจกกระดาษสมมติสถานการณ์ต่างๆ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้วิเคราะห์ในกลุ่ม และนำมาแลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่ม นักเรียนแต่ละคน บ้างก็มีความคิดเหมือนกับกลุ่ม บ้างก็ต่างจากกลุ่ม บ้างเห็นแย้งกับความคิดเห็นกับกลุ่มอื่น ซึ่งครูก็ไม่ได้สรุปคำตอบที่ถูกที่สุดของแต่ละสถานการณ์ แต่ฝากข้อคิดให้นักเรียนลองสังเกตความคิดของตัวเองว่า ความคิดของแต่ละคนเกิดขึ้นบนพื้นฐานของอะไร- อารมณ์ ความเชื่อ จารีต กฎหมาย หรือความจริงสูงสูด

    3 สถานการณ์ที่แต่ละกลุ่มได้วิเคราะห์
    - รถรางเบรคแตก มีคน 5 คนอยู่ข้างหน้า และคุณเป็นคนขับรถรางแต่หยุดรถไม่ได้ จะเลือกอะไรระหว่างเลี้ยวสับไปอีกรางหนึ่งที่มีคนงานเพียงคนเดียว เหรือให้รถรางวิ่งไปตรงๆ ชนคนงาน 5 คน
    - รถรางเบรคแตก เราเป็นคนที่บังเอิญเห็นเหตุการณ์อยู่ข้างทางรถไฟ ถ้าเราผลักคนอ้วนๆ คนหนึ่งลงไปขวางทางรถรางจะช่วยให้รถหยุด และจะช่วยคนงาน 5 คนได้ จะเลือกทำไหม
    - มีผู้ก่อการร้ายจับตัวประชาชนผู้อพยพและนักโทษจากเรือนจำลงเรือคนละลำ ซึ่งติดตั้งระเบิดไว้อยู่ โดยต่างฝ่ายต่างถือรีโรตของอีกฝ่าย มีเงื่อนไขว่า ถ้าเรือลำไหนไม่อยากโดยระเบิดก็ต้องระเบิดอีกลำหนึ่งแทน แต่หากไม่มีการกดระเบิด เรือก็จะถูกระเบิดทั้ง 2 ลำพร้อมกัน ถ้าเป็นคนในเรือประชาชนจะเลือกอย่างไร

    ตอบลบ